อินโดนีเซีย
อินโดนีเซีย หรือชื่อเต็มว่าสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เป็นหนึ่งในประเทศที่ประชาธิปไตยเบ่งบานที่สุดในเอเชียแปซิฟิกตะวันออก และกำลังขึ้นมาเป็นประเทศรายได้ระดับกลางที่มั่นคง
ด้วยประชากรกว่า 270 ล้านคน อินโดนีเซียเป็นประเทศที่ประชากรมากเป็นอันดับสี่ของโลก และเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังเป็นประเทศที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุดพร้อมทั้งความหลากหลายมากกว่า 300 ชนพื้นเมือง
ปัจจุบัน อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 10 ของโลกในด้านภาวะความเสมอภาคของอำนาจซื้อและเป็นสมาชิก G-20 เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด อัตราความยากจนขึ้นไปที่ 10.19% ส่งผลให้ชาวอินโดนีเซียจำนวนกว่า 27 ล้านคนต้องตกอยู่ในภาวะยากจน
มูลนิธิธนาคารออมสินเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ (DSIK) มีประวัตการดำเนินโครงการที่ยาวนานในประเทศอินโดนีเซีย
» 2005 – 2010: กองทุนฟื้นฟูธนาคารออมสิน
ธนาคารออมสินเยอรมันร่วมมือกับธนาคาร BPD อาเจะห์ ซึ่งเป็นหนึ่งในธนาคารด้านการพัฒนาของภูมิภาค ในการรวบรวมเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดเล็กและกลางที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิในเขตที่ประสบภัยรุนแรงของอาเจะห์ โครงการนี้เน้นการทำงานระดับล่างและพัฒนาให้เกิดไมโครเครดิตในชื่อ Kredit Usaha Mikro (KUM) ซึ่งสามารถดำเนินการอย่างประสบความสำเร็จเป็นธุรกิจใหม่ให้แก่ธนาคาร BPD อาเจะห์
» มิถุนายน 2010 - มีนาคม 2020: สนับสนุนการบริการด้าน Decentralized Finance ของธนาคารเพื่อการพัฒนาของภูมิภาค (BPD)
DSIK ได้ขยายงานเข้าไปในด้านการเพิ่มขีดความสามารถ การเงินสำหรับ MSME และการให้ความรู้ทางการเงิน ให้กับธนาคาร BPD 19 แห่ง และสมาคม ASBANDA โดย 30% ของธนาคาร BPD ทั้งหมด 27 แห่งได้แสดงผลสำเร็จในบรรลุภารกิจทางกฏหมายสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โครงการนี้ดำเนินการตามบริบทของธนาคารแห่งประเทศอินโดนีเซียที่ต้องการชูให้ “ธนาคาร BPD เป็นผู้นำของภูมิภาค” และแผนงาน “BPD Transformation” ของสำนักงานการบริการทางการเงินของอินโดนีเซีย (OJK) ในปี 2016 มาตรการไมโครเครดิต KUM ได้รับการอนุมัติจาก OJK อย่างเป็นทางการให้เป็นแผนแม่แบบด้าน microlending แบบใช้เงินสดสำหรับธนาคาร BPD อีกทั้งยังมีการฝึกอบรมผู้เข้าร่วมจำนวนกว่า 16,000 คนในการใช้เกมนักออม และเกมบริหารธุรกิจขนาดเล็กเพื่อเสริมสร้างความรู้พื้นฐานทางการเงินและธุรกิจให้กับเจ้าของกิจการดั้งเดิมและรายใหม่
» เมษายน 2020 - ปัจจุบัน: การพัฒนาชนบทในอินโดนีเซียผ่านการสร้างความเข้มแข็งให้ภาคการเงินชนบท (งานปรับโครงสร้างธุรกิจ BPR)
การปรับโครงสร้างทางธุรกิจธนาคารเพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับตัวและแข่งขันเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับตอบรับกับปัญหาข้อจำกัดด้านงบประมาณ บุคลากร เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ผลิตภัณฑ์และการบริการที่ไม่ตอบโจทย์ รวมถึงการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในธุรกิจธนาคารและเทคโนโลยีด้านการเงิน (ฟินเทค)
โครงการนี้สนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งให้กับการปรับโครงสร้างธุรกิจธนาคารของอินโดนีเซีย ผ่านการพัฒนาด้านการบริหารร่วมกับสมาคมการปรับโครงสร้างธุรกิจ BPR อาทิ การบริหารความเสี่ยง ผลักดันนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์การเงินให้กิจการขนาดเล็กและขนาดย่อม เร่งให้ความรู้ทางการเงินและทักษะการบริหารเงินแก่ประชาชน รวมถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิตัลในการทำงานมากขึ้น
ปัจจุบัน โครงการดำเนินการในบาหลีกับองค์กรภาคี BPR Sukawati Pancakanti และ BPR Kita Centradana และสมาคมธนาคารชนบทของพื้นที่บาหลี DPD Perbarindo Bali เช่นเดียวกับหน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินของอินโดนีเซีย (OJK).