ฟิลิปปินส์
มูลนิธิธนาคารออมสินเยอรมันดำเนินโครงการ K-12 PLUS ระหว่างเดือนธันวาคม 2013 จนถึงกันยายน 2019 ซึ่งดูแลปัญหาการว่างงานของคนรุ่นใหม่ ทางมูลนิธิฯร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ จากประเทศเยอรมนี เช่น มูลนิธิ AFOS DIHK/AHK GIZ Sequa และ ZDH ในการให้การสนับสนุนทางเทคนิคสำหรับการฝึกอาชีพแบบหลักสูตรคู่ขนานภายใต้แผนการปฏิรูปการศึกษา Kto12 มูลนิธิธนาคารออมสินเยอรมันจัดให้มีหลักสูตรการอบรมแบบคู่ขนานสำหรับสาขาการเงิน โดยสร้างโอกาสให้สถาบันและหน่วยงานภาคีเข้าไปทำการฝึกอบรมให้กับนักเรียนชั้นมัธยมปลายในเรื่องไมโครไฟแนนซ์ การทำบัญชี การประกันภัยรายย่อย ซึ่งล้วนเป็นทักษะที่มีความต้องการสูงในภาคการเงินของประเทศฟิลิปปินส์ ความร่วมมือของมูนิธิธนาคารออมสินเยอรมันในโครงการ K-12 PLUS ได้สิ้นสุดลงในช่วงระยะโครงการที่สองในเดือนกันยายน 2019
ในเดือนตุลาคม 2019 มูลนิธิธนาคารออมสินเยอรมันได้เริ่มต้นระยะแรกของโครงการใหม่ในด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่สมาคมการเงิน (Strengthening of Financial Associations – SFA) โดยทำการประสานงานและถ่ายทอดหลักสูตรฝึกอาชีพที่เน้นการปฏิบัติและหลักสูตรการให้ความรู้ทางการเงินให้แก่ฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นการต่อยอดหลักสูตรคู่ขนานสาขาการเงิน (Finance Dualized Education – FDE) และเพิ่มความรู้ทางการเงินให้แก่ประชาชน
เป้าหมายในภาพรวมของโครงการ SFA คือการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวฟิลิปปินส์ผ่านการสร้างการเข้าถึงทางการเงินและเพิ่มการสร้างงานให้คนรุ่นใหม่
วัตถุประสงค์โครงการ SFA คือเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันการเงินในฟิลิปปินส์เพื่อจะสามารถทำหน้าที่ประสานงานและสร้างมาตรการทางการศึกษาและการให้ความรู้ทางการเงิน
โครงการ SFA ดำเนินมาตรการระดับกลางและระดับล่าง ในระดับกลางนั้นหน่วยงานด้านไมโครไฟแนนซ์ได้รับการส่งเสริมให้จัดการฝึกอาชีพและการฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงินชุมชน และพัฒนาให้การบริการด้านการเงินมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น ในระดับล่างนั้นมีการพัฒนาการให้ความรู้ทางการเงินพื้นฐานแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการซึ่งนำไปสู่การเข้าถึงบริการทางการเงินที่มากขึ้น
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 DSIK Philippines ได้รวมเข้ากับสำนักงานภูมิภาคตะวันออกไกลภายใต้โครงการภูมิภาคเกี่ยวกับการพัฒนาชนบทในอินโดนีเซียและในฟิลิปปินส์ (RP-RDIP)
วัตถุประสงค์โดยรวมของโครงการคือเพื่อปรับปรุงการเข้าถึงบริการทางการเงินที่เพียงพอสำหรับครัวเรือน วิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดเล็ก (เกษตรกรรม) ในพื้นที่ชนบทบางแห่งในอินโดนีเซียและในฟิลิปปินส์ ซึ่งมีส่วนช่วยในการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคและการลดความยากจน
วัตถุประสงค์ของโครงการคือเพื่อเสริมสร้างทักษะวิชาชีพในภาคการเงิน (จุลภาค) และความรู้ทางการเงินของนักเรียน ครัวเรือน ผู้ประกอบการรายย่อยและรายย่อย (เกษตร) ในพื้นที่ชนบทที่เลือกในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์
DSIK Philippines ซึ่งอยู่ในโครงการระดับภูมิภาคของ DSIK ในตะวันออกไกล ปัจจุบันทำงานร่วมกับสมาคมพันธมิตรหลัก 2 สมาคม ซึ่งประกอบด้วยสถาบันการเงินรายย่อยที่เป็นสมาชิกรวมกัน 370 แห่ง พันธมิตรโครงการสถาบันการเงินรายย่อยผู้บุกเบิก 2 แห่ง และโรงเรียน 5 แห่งที่ดำเนินการจัดการศึกษาแบบคู่ขนานทางการเงิน